ประวัติบ้านยามกา
บ้านยามกา หมายถึง บ้านยามากาใหญ่
บ้านยามกาน้อย บ้านโนนคำและคุ้มโนนศรีทองในสมัยก่อนชาวบ้านยามกา
ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโนนถมไห ถมทอง ที่เรียกถมไหถมทอง
เพราะว่าในสมัยโบราณไม่มีธนาคารฝากเงิน จึงนิยมนำเงินนำทองใส่ลงในไห
แล้วฝังถมไว้ในดิน เรียกเรื่อยมาจากถมไหจึงกลายเป็นบ้านผมไผหรือวัดผมไผ
ต่อมาได้ย้ายมาบ้านยามกา (ยามกาใหญ่) เพราะโรคระบาด
(โรคห่า)
เมื่อ พ.ศ. 2368 (188 ปีที่ผ่านมา) เจ้าอนุวงศ์กษัตริย์แห่งนครเวียงจันทร์
ได้เสด็จนำทหารและไพร่พลลงมาเพื่อจะไปถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2 แห่งราชอาณาจักรไทย พอมาถึงเมืองไทยได้เล็งเห็นว่ากองทัพไทยอ่อนแอมาก
เนื่องจากแม่ทัพนายกองที่มีฝีมือของไทย ได้เสียชีวิตไปมากแล้ว
และมีข่าวลือไปถึงเวียงจันทร์ว่า ไทยกับอังกฤษมีเรื่องทะเลาะวิวาทกัน จากการทำสนธิสัญญาเบอร์นี เจ้าอนุวงศ์จึงวางอุบายหลอกเจ้าเมืองต่าง ๆ ว่า
จะยกทัพไปช่วยไทยรบกับอังกฤษที่กรุงเทพฯ
แต่ฉวยโอกาสเข้ายึดเมืองต่าง ๆ และกวาดต้อนผู้คนและเสบียงอาหารเป็นของตน
และพาทหารเดินทางข้ามลำน้ำมาแถว บ้านเบิดเมืองบาง ได้มาพบกาฝูงหนึ่ง
ซึ่งกาในฝูงนั้นปรากฏว่ามีกาขนสีขาว สวยงามมากปะปนอยู่กับกาฝูงนั้น 1 ตัว คิดอยากได้ จึงสั่งให้ทหารและไพร่พลตามจับ
แต่ทหารหากาไม่เจอ จึงเรียกลำน้ำว่าน้ำซวย และกลายเป็นลำน้ำสวย
ทหารของเจ้าอนุวงศ์ก็ตามจับกามาเรื่อย ๆ จนถึงแถวบ้านยามกา เจ้าอนุวงศ์จึงสั่งทหารให้จับกา
ไม่ว่าจะจับเป็นหรือตายก็ตาม เหล่าทหารของเจ้าอนุวงศ์ได้ตามจับแต่ก็จับไม่ได้
จึงได้ใช้ปืนยิงกาตัวนั้น กาสีขาวตัวนั้นถูกยิง
ไม่รู้ว่าตายหรือไม่ แต่ได้บินร่อนลงไปแถวป่าละเมาะ ใกล้บ้านยามกาใหญ่ เจ้าอนุวงศ์จึงสั่งให้ทหารค้นหากาสีขาวตัวนั้น
โดยเหยียบย่ำป่าไม้แถวนั้นจนราบเตียนและกลายเป็นหนอง แต่ก็ค้นหาไม่เจอกาแม้แต่ตัวเดียว จนบริเวณที่ทหารเหยียบย่ำหากา
กลายเป็นหนอง ต่อมาเมื่อมีฝนตกลงมาหนองที่ทหารเยียบย่ำมีบัวเกิดขึ้น
ชาวบ้านจึงเรียกว่า หนองบัวย่ำกา พอพูดต่อกันมาเรื่อย
ๆ จึงกลายเป็นหนองบัวยามกา และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านย่ำกา
พอพูดเรื่อยมาจนเป็นบ้านยามกา และกลายเป็นบ้านยามกาใหญ่จนถึงปัจจุบัน และได้อพยพมาตั้งเป็นบ้านยามกาน้อย
บ้านโนนคำ และคุ้มโนนศรีทอง ปัจจุบันบ้านยามกาใหญ่ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2
ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี เป็นหมู่บ้านหนึ่งของเทศบาลตำบลบ้านธาตุ มีนายพุทธกาล
พันธ์ทอง เป็นนายกเทศมนตรี คนปัจจุบัน
ประวัติการตั้งนามสกุล
ได้มีการบังคับใช้นามสกุลเมื่อวันที่ 1
กรกฎาคม 2456 ( 100
ปี ที่ผ่านมา ) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี
การตั้งนามสกุลของบ้านยามกา มีดังนี้
1.
นามสกุล
กาหวาย ผู้ตั้งและใช้คนแรกคือ นายเหม็น กาหวาย และนางจันทา กาหวาย ตั้งตามฝูงกาที่ที่มาปรากฏตามหมู่บ้านและป่าแถวนี้มีหวายขึ้นเยอะ
จึงนึกถึงหวาย แล้วนำมารวมกันเป็น กาหวาย
2.
นามสกุล
กาทอง ผู้ตั้งและใช้คนแรกคือ นายทุย กาทอง
เนื่องจาก นายทุย กาทอง ได้เข้าไปเที่ยวในป่า ไปเจอกาตัวหนึ่งมีขนสีทอง
จึงใช้นามสกุลตามกาว่า กาทอง
3.
นามสกุล
ผมไผ ไม่ปรากฏว่าใครเป็นคนตั้งเป็นคนแรก
แต่มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่อพยพหนีโรคระบาด (โรคห่า) ที่อพยพมาจากวัดผมไผ
(คุ้มโนนศรีทอง) จึงตั้งนามสกุลตามบ้านเดิมที่เคยอาศัยว่า ผมไผ
4.
นามสกุล
สีมืด ผู้ตั้งและใช้คนแรกคือ นายล่ำกับนายเสิก ที่ตั้งสีมืดเพราะว่าในการตั้งนามสกุลในครั้งนั้น
นายล่ำกับนายเสิก ไม่รู้ว่าจะตั้งนามสกุลว่าอย่างไร คิดจนมืดค่ำ ก็เลยตกลงกันว่าเอาสีมืด จึงมีนามสกุลว่า สีมืด จนถึงปัจจุบัน
ประวัติการตั้งวัด
1.
วัดอินทร์สรณ์สง่า เกิดจาก เมื่อประมาณ 150 ปี ที่แล้ว
มีพระที่เป็นเจ้าอาวาสชื่อ พระอินทร์และพระสรณ์
ทั้งสองไม่ใช่คนแถวนี้ ตอนแรกวัดตั้งอยู่ที่ศาลากลางบ้านปัจจุบัน
และได้ย้ายมาที่วัดอินทร์สรณ์สง่าและตั้งชื่อวัดว่า วัดอินทร์สรณ์สง่า อยู่ต่อมาได้มีพระอาจารย์คำ
ได้พาชาวบ้านทำกลองเพล ซึ่งไม้ที่ทำกลองเพลนำมาจาก วังกุง กลองเพลดังกล่าวยังอยู่ที่วัดอินทร์สรณ์สง่าจนถึงปัจจุบัน
2.
วัดบุญสวาท
ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2474 ( 82
ปีที่ผ่านมา ) มีพระ 2 รูป คือพระอาจารย์บุญ และพระอาจารย์สวาท
ได้พากันมาตั้งวัด และได้ตั้งชื่อวัดตามพระทั้ง 2 รูป จนถึงปัจจุบัน
ประวัติศาลเจ้าปู่บ้านยามกาใหญ่
ศาลเจ้าปู่บ้านยามกาใหญ่ตั้งมาประมาณ 150
ปีขึ้น มีตาอยู่และตาอุ่น เป็นผู้ก่อตั้ง
ประวัติหลวงปู่ใหญ่ (ปู่ปากเข็ด )
พระนามเดิม พระเจ้าไชยธรรมราชา
(ปู่ปากเข็ด ) เป็นเชื้อกษัตริย์ พระองค์มาจากเมืองจำปาศักดิ์ นครหลวงเวียงจันทร์
ได้เข้ามาเมืองสยาม พร้อมไพร่พลประมาณ
500 คน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ราว พ.ศ. 2367
( 189 ปีที่ผ่านมา ) โดยพาไพร่พลมาตั้งบ้านเรือนที่บริเวณวัดปู่ใหญ่
(วัดนอก วัดร้าง) วัดผมไผ (วัดใน) วัดโพนทอง (วัดกลางทุ่งนา) ซึ่งต่อมาได้เกิดโรคระบาดคือ
โรคอหิวาต์ ( โรคตายห่า ) ไพร่พล ช้าง ม้า วัว ควาย ได้ตายเกือบหมด ที่เหลือได้ย้ายมาที่ข้างน้ำเพ็ญ
หรือบ้านยามกาใหญ่ในปัจจุบัน วัดปู่ใหญ่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมือง ที่ชาวบ้านยามกาทุกคน
ทุกหมู่เหล่า ให้ความเคารพ สักการะ
บูชา นับถือของชาวบ้าน
และประสบความสำเร็จแก่ผู้นับถือเป็นอย่างดียิ่ง วัดเก่าที่คุ้มโนนศรีทอง มี 3 วัด
คือ
1. วัดปู่ใหญ่ (วัดนอก)
2. วัดผมไผ (วัดใน) 3.
วัดโพนทอง (วัดกลางทุ่งนา)
สิ่งที่ควรคำนึงเป็นอย่างยิ่ง
คือ ปู่ใหญ่ พระองค์ชอบคำพูดเป็นจริง ไม่ให้โกหก ห้ามลบหลู่ ห้ามพูดปด และชอบบั้งไฟ
เครื่องสักการะบูชาหลวงปู่ใหญ่
(ปู่ปากเข็ด) ถวายที่วัดปู่ (วัดนอก) มีดังนี้
1.
บายศรีน้อย
1 คู่
2.
กล้วยหอม
1 หวี
3.
มะพร้าวน้ำหอม 1
ลูก (เจาะและเสียบหลอดดูด)
4.
น้ำขมิ้น
3 แก้ว
5.
ขัน 5
6.
ขัน 8
7.
ผ้าขาว
1 วา
8.
กอกยา
5 กอก
9.
คำหมาก
5 คำ
10.
ขันหมากเบ็ง
108
ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล ทุกท่าน เป็นอย่างสูง ดังนี้
1.
นายหวาด
ทองเพ็ญ อายุ 84
ปี บ้านยามกาใหญ่ ยังมีชีวิตอยู่
2.
นายกองมา
อุไร อายุ
80 ปี บ้านยามกาใหญ่
ยังมีชีวิตอยู่
3.
นายอุ่นคำ
ทองเพ็ญ อายุ 83 ปี
บ้านยามกานเอย ยังมีชีวิตอยู่ (ผู้ใหญ่บ้านยามกาน้อยคนแรก)
4.
นายวรวุฒิ
อุไร อายุ 70
ปี บ้านยามกาใหญ่ ยังมีชีวิตอยู่ (ข้าราชการบำนาญ 080-7430323)
5.
นายวุฒิชัย
ชัยวงศ์วัฒน์
หัวหน้าศูนย์มูลนิธิชัยพัฒนา บ้านยามกาน้อย 089-5751320)
6.
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน ปี
2541 (ปีการศึกษา 2556)
ผู้สืบค้นเรียบเรียง นายสงวน คำเทพ
081 - 9742625
ตำแหน่ง
ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านยามกาโนนคำ